วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555


ระบบคอมพิวเตอร์
(Computer System)
ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  2. ซอฟต์แวร์ (Software)
  3. บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้
หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล
1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ


    1. หน่วยควบคุม
    2. (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
    3. หน่วยคำนวณและตรรก
    4. (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ
    5. หน่วยความจำ
                3.เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล

3. หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

    1. หน่วยความจำภายใน

- หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
- หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่
2. หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM
แผ่นดิสก์หรือสเกต เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ

    1. แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
    2. แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
    3. แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน




ขนาด 5.25 นิ้ว ขนาด 1.44 MB

หน่วยวัดความจุของข้อมูลในคอมพิวเตอร์
 

8 Bit
1 Byte
1 Byte1 ตัวอักษร
1 KB 1,024 Byte
1 MB 1,024 KB
1 GB 1,024 MB
1 TB 1,024 GB

หน่วยความจำต่ำสุด คือ บิต (BIT [Binary Digit]) โดยใช้บิตแทน 1 ตัวอักขระ หรือ 1 ไบต์ (Bite) หน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่วย คือ กิโลไบต์ (Kilobyte) โดยที่ 1 กิโลไบต์ มีค่าเท่ากับ 2 10 ไบต์ หรือ 1,024 ไบต์ หน่วยความจำที่ใหญ่ขึ้นไปอีก เรียกว่า เมกะไบต์ กิกะไบต์ และเทระไบต์

ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง ชนิดติดแน่นไม่มีการเคลื่อนที่ สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก เป็น 2 ขนาด คือ 1. ขนาด 5.25 นิ้ว (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
2. ขนาด 3.5 นิ้ว
ทั้ง 2 ขนาดจะมีความจุ ตั้งแต่ 10,20,40,80,120,300,400 MB1 GB,2 GB ฯลฯ ปัจจุบันนิยมใช้ตั้งแต่ 10 GB ขึ้นไป



Hard disk

Data Rate หมายถึง ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากดิสก์ไปสู่สมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ (หรือมีความเร็วในการนำข้อมูลมาจากสมองเครื่องไปบันทึกลงบนดิสก์) มีหน่วยวัดเป็น จำนวนไบต์ต่อวินาที ( Bytes Per Second หรือ bps )

ซีดีรอม (CD-Rom ) เป็นจานแสงชนิดหนึ่ง ใช้เก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง มี

คุณสมบัติดังนี้

    • เป็นสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะมีความจุสูงถึง 2 GB (2 พันล้านไบต์)
    • มีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
    • ใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ในการอ่านเขียนข้อมูล
    • เป็นจานแสงชนิดอ่านได้อย่างเดียว ( Read Only Memory ) ไม่สามารถเขียนหรือลบข้อมูลได้

CD - ROM
 
 
3. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)



ซอฟแวร์

(Software) หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม ซึ่งมี 2ประเภท คือ

  1. ซอฟแวร์ควบคุมระบบ
  2. (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix
  3. ซอฟแวร์ประยุกต์
  4. (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ

บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นต้น



ระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต



วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. สามารถอธิบายระบบเครือข่ายได้
2. สามารถบอกความหมายความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตได้
3. สามารถค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตได้
4. สมัคร-ส่ง-และรับ E-mail ได้
ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร
หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก เราสามารถส่งข้อมูลในรูปของข้อความกราฟิก เสียง หรือข้อมูลบนคอมพิวเตอร์
การส่งข้อมูลวิธีนี้เรียกว่า โทรคมนาคม (Telecommunications) หรือการส่งข้อมูล (Data- Communications) อาจเรียกสั้น ๆ ว่า Datacomms. Telecoms. หรือ Comms.
คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่ายจะมีอยู่หลายชื่อเรียก เช่น Networked, Linked Up, Wired หรือ Online (บางที่คำว่า Online แปลว่า เปิดเครื่อง) ระบบเครือข่ายบางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า เน็ต (Net) คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้เป็นระบบเครือข่ายเรียกว่า คอมพิวเตอร์เอกเทศ (Standalone Computer)
แลนและแวน เป็นระบบเครือข่ายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เกิดขึ้นจากการต่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกัน
อินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ เกิดจากการเชื่อมต่อของระบบแลน และแวนเข้าด้วยกันเป็นจำนวนมาก
รหัสผ่าน (Password)
การป้อนกันข้อมูลด้วยรหัสผ่าน (Password Protection) เป็นวิธีหนึ่งที่ไม่ให้ผู้อื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นความลับ โดยกำหนดรหัสผ่าน (Password) ให้พิมพ์ก่อนที่จะเข้าถึงข้อมูล (access) ถึงแม้ว่าจะมีวิธีป้องกัน แต่ก็ยังมีนักก่อกวนคอมพิวเตอร์ แอบขโมยข้อมูลที่เป็นความลับจากระบบเครือข่าย
แลน (LAN)

 

เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน (LAN : Local Area Network) เป็นการต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในบริเวณห้องหรือภายในอาคารเข้าด้วยกัน ฮาร์ดแวร์ แต่ละชิ้นที่นำมาต่อในระบบแลน เรียกว่า โหนด (Node) นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วยังรวมถึงเครื่องพิมพ์ เครื่องวาดภาพ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่อ ๆ ปัจจุบันแลนมีอยู่หลายชนิด เช่น token ring LAN, star LAN, bus LAN, snowflake LAN, optical LAN และ Ethernet LAN
แวน (WAN)

 

เครือข่ายกว้างไกล หรือ แวน (WAN : Wide Area Network) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงกันกว้างกว่าแลน
แวนบางระบบจะใช้โมเด็มในการส่งข้อมูลด้วยสายโทรศัพท์ นอกจากนั้นข่าวสารสามารถส่งไปในรูปสัญญาณวิทยุ ซึ่งคลื่นวิทยุจะส่งไปยังดาวเทียมเพื่อการศึกษา (Communications satellite) และส่งกลับลงมายังเครื่องรับปลายทาง
สายเคเบิลเครือข่าย
 

 

ในระบบเครือข่ายมีสายเคเบิลหลายแบบที่ใช้ในการต่อเชื่อม เช่น สายเคเบิลหุ้มฉนวน (Coaxial cable) นิยมใช้กับแลนมีสายที่ฟั่นเกลียว 2 สาย ห่อหุ้มด้วยฉนวนเรียกว่า ชีลด์ (shield) ถ้าเป็นแบบหนาจะใช้สำหรับส่งข้อมูลระยะทางไกล หรือถ้าเป็นแบบบางจะใช้สำหรับส่งข้อมูลระยะใกล้ สัญญาณจากสายเคเบิลหนึ่งสามารถไปรบกวนเคเบิลเส้นอื่น ๆ
ได้ทำให้เกิดความเสียหายกับข้อมูล (Corrupting) การรบกวนดังกล่าวเรียกว่า crosstalk
แวนจะใช้สายโทรศัพท์ในการส่งข้อมูล ต่อมาใช้เส้นใยนำแสง (Fiberoptic cable) ซึ่งทำ
จากใยแก้ว (optical fiber) ขนส่งข้อมูลด้วยสัญญาณแสงแทนสัญญาณไฟฟ้า
โมเด็ม (Modem)
โมเด็ม (modem ย่อมาจาก Modulate/DEModulate) หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์เพื่อการติดต่อสื่อสารโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลในรูปของสัญญาณดิจิตอล (digital signal) โมเด็มจะเปลี่ยน (modulate) ให้เป็นข้อมูลในรูปของสัญญาณอนาล็อก (analog signal) และส่งไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางซึ่งต้องมีโมเด็มอีกตัวหนึ่งถอดรหัส (demodulate หรือ decode)
กลับเป็นสัญญาณดิจิตอลอีกครั้งหนึ่ง
Duplex transmission หมายถึงโมเด็มสามารถส่งสัญญาณได้ 2 แบบ คือ โมเด็มที่ส่งสัญญาณไป/กลับได้อย่างต่อเนื่องพร้อมกัน (full-duplex modem) ยังมี fax/modem ซึ่งจะส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพผ่านเครื่องโทรสาร (facsimile หรือ fax machine) แล้วพิมพ์ออกมาในกระดาษ
อินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต (internet) หรือ เน็ต (net) เป็นระบบเครือข่ายนานาชาติ เกิดจากเครือข่ายย่อย ๆ มีบริการมากมายสำหรับทุกคนที่ติดต่อกับอินเตอร์เน็ต หรือ on the net สามารถใช้อินเตอร์เน็ตส่งจดหมายคุยกับเพื่อน ๆ คัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น รวมทั้งค้นหาข้อมูลสารสนเทศจากแหล่งข้อมูลทั่วโลกไซเบอร์เบซ (cyberspace) หมายถึง การจินตนาการไปในอวกาศ คือเมื่อใช้อินเตอร์เน็ตไม่ว่าอยู่ที่ใดก็ตามสามารถเดินทางเสมือน (virtual journey) ไปรอบโลกโดยการเชื่อมต่อกับสถานที่ต่าง ๆ

 

อินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นจากระบบเครือข่ายทางการทหารของอเมริกา ที่เรียกว่า DARPANET (Defence Advanced Research Projects Agency NET work) ต่อมาเปลี่ยนเป็น ARPANET ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่ปรับปรุงใหม่เพื่อให้มีประโยชน์มากขึ้น ต่อมาได้ก่อตั้ง NSFNET (National Science Foundation NET work) ขึ้นเพื่อให้องค์กรการศึกษาและวิจัยใช้ ในปี ค.ศ. 1990 คนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้บริการได้และเป็นปีที่อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้น อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันยังไม่มี
กฎเกณฑ์ในการควบคุมแต่ NSF แนะนำให้มีข้อบังคับสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเรียกว่านโยบายการใช้งานที่สามารถยอมรับได้ (acceptable use policy)
การติดต่อ
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เรียกว่า โฮสต์ (host) และระบบเครือข่าย แลน หรือแวน ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเรียกว่า ไซต์ (site) เครือข่ายบางชนิดโดยเฉพาะเครือข่ายของภาครัฐบาล และภาคการศึกษาเป็นการติดต่อแบบถาวร (dedicated connection) คือ เชื่อมต่อระหว่างไซต์กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา
ถ้าผู้ใช้ไม่ได้อยู่ในการเชื่อมต่อแบบถาวร ก็สามารถโทรเข้าไปหา (hook Up) หรือติดต่อกับระบบเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (service provider) โดยต้องเสียค่าบริการตามที่กำหนด ผู้ใช้สามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้หลายทาง คือ
1. Dial-in connection คือ การเชื่อมต่อโดยตรงกับอินเตอร์เน็ต วิธีนี้บริษัทจะมีสายตรงเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยใช้โมเด็ม หรือไอเอสดีเอ็น เราสามารถหมุนโทรศัพ์ต่อตรงกับอินเตอร์เน็ตได้เลย
2.Dial-up (terminal) connection คือ การต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง วิธีนี้บริษัทจะไม่มีสายตรงเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แต่ติดต่อผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า gateway
3.Mail-only connection คือ การติดต่อทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ข้อมูลจะส่งผ่านโปรโตคอล (protocol) เป็นวิธีแยกข้อมูลออกเป็นชิ้น ๆ เรียกว่ากลุ่มข้อมูล (data packet) หรือใส่ข้อมูลในรหัสอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า ซองจดหมาย (envelope) ข้อมูลจะเดินทางไปถึงที่หมายอย่างปลอดภัย
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
อิเมล์ หรือ อี-เมล์ (email หรือ e-mail) ย่อมาจาก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) เป็นการส่งข่าวสารบนอิเตอร์เน็ต คนส่วนใหญ่ใช้อีเมล์ในการส่งจดหมาย เพราะประหยัดและรวดเร็วกว่า จดหมายหอยทาก (snail mail) หรือการส่งหมายแบบธรรมดา ผู้ใช้สามารถส่งข่าวสารในรูปแบบกราฟิก เสียง และวีดิโอ โดยใช้ระบบ MIME (Multi-purposes Internet Mail Extensions) คือระบบการขยายผลประโยชน์หลายแบบในการส่งจดหมายอินเตอร์เน็ต
ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตจะมีที่อยู่ (email address) สำหรับการส่งและรับอีเมล์ ประกอบด้วย ชื่อผู้ใช้ (user name) ตามด้วยสัญลักษณ์ @ (หมายถึง ที่ “at” ตามด้วยที่อยู่ ซึ่งจะแสดงประเทศและสถานที่ (domain หรือ subdomain) เช่น edu (หรือ ac) หมายถึงสถานศึกษา co หรือ com (พาณิชย์) หรือ org (องค์การ)

 

 
ส่วนหัวของอีเมล์ (email header) จะอยู่ส่วนบนของอีเมล์ เป็นส่วนที่เก็บเส้นทางการส่งข่าวสาร ถ้าอีเมล์ส่งกลับเพราะไม่ถึงผู้รับ (bounce) หรือตกหล่นไปจะถูกส่งกลับมายังผู้ส่ง ให้ดูที่ส่วนหัวว่าความผิดพลาดเกิดจากอะไรในสารบนของแฟ้มข้อมูลออนไลน์ (online directory) ซึ่งเป็นรายการที่อยู่ของผู้ใช้อีเมล์ ผู้ใช้สามารถใช้อีเมล์ส่งข้อความตอบโต้กันในกลุ่ม โดยสมาชิกทุกคน
จะต้องมีที่อยู่เก็บไว้เรียกว่า รายชื่อไปรษณีย์ (mailing list) ทำให้สามารถส่งข้อความไปถึงใครก็ได้ที่มีรายชื่ออยู่ในรายชื่อไปรษณีย์
การโยงใยกันทั่วโลก
การโยงใยกันทั่วโลก (World Wide Web) เรียกว่า WWW หรือ เว็บ (Web) เป็นเครือข่ายที่อำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลจากทั่วโลกมีความสามารถสูงมากจนหลายคนให้ฉายาว่าเป็น โปรแกรมตัวฉกาจ (killer application)
ข่าวสารบนเว็บ (Web page) ไฮเปอร์เทกซ์ลิงค์ (hypertext-linked) ซึ่งจะแสดงแถนสว่างกี่คำถ้าเรากดมาส์มันจะแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อที่ต้องการจากฐานข้อมูลโดยมีโปรแกรมกวาดดู (browser) หรือ Web browser เช่น Mosaic หรือ Cello
ในที่สุดข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่เชื่อมอยู่บนอินเตอร์เน็ตก็จะโยงใยเข้าสู่เว็บ

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555




เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร
 

ความหมาย

ข่าวสารที่สำคัญ  เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้นและจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ

    สารสนเทค  ตรงกับภาษาอังกฤษว่า  Informafion หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า สารสนเทคเป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษทั้งในด้านการได้มากและประโยชน์ในการนำไปปฎิบัติ
    สารสนเทค  มีความหมายตามที่ได้รับมีการให้คำจำกัดความที่ไกล้เคียง
    สารสนเทค  หมายถึง  ข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่เปรียบเทียบและวิเคราะห์แล้วสามารถนำไปใช้ได้หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า

เทคโนโลยีสารสนเทคคืออะไร?

เทคโนโลยีสารสนเทคหรือ IT  เป็นเทคโนโลยี ที่มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บการประมวลผลและการแสดงผลสารสนเทค



 1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
   คอมพิวเตอร์ คือ จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของ IT ในปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์ มีคุณสมบัติครบถวน ทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผล และการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น เทคโนโลยีย่อยสำคัญได้ 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีฮารืดแวร์และเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์
   - เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยง จำแนกตามหน้าที่ (CPU)
     ทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. หน่วยรับข้อมูล
2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
3. หน่วยแสดงข้อมูล (Output unit)
4. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
      2. เทคโลโนยีซอฟต์ (Softwaer) หมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้งานต้องการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
     2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และวอฟต์แวร์ทำงานได้ดี
     2.2 ซอฟตืแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เคื่อง คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ต้องการ
     3. เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ ดามเทียม และอื่นๆ ในการติดต่อสื่อสาร

      ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ปี (2520 - 2524)
- มีการจัดตัวศูนย์ประสานงานและปฏิบัติของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา
- ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ให้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ในแผนพัฒนาจัดทำแผนหลัก เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในการจัดการศึกษา
- แผนพัฒนาข้างต้นทำให้เทคโนโลยี สารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการการศึกษา ของประเทศไทยมากขึ้น ทำให้การศึกษามีคุณภาพ มีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ยุคที่ 1 ประมวลผลข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณ
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการมีการใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุมดำเนินการติดตามผลและวิเคราะห์ ผลงาน
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยาการสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์ จึงเลือกให้สารสนเทศช่วยในการตัดสินนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุค ที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุค IT มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดระบบสารสนเทศและ เป็นความถนัดของการใช้บริการ สารสนเทศ แก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
       ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา
1. ใช้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2. ใช้ประการวางแผนการบริการ
3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. ใช้ในการควบคุมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
5. เพื่อให้ทำงานบริการอย่างมีระบบ
       สรุป
       การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษา มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่น ดาวเทียม ใยแก้วนำแสง อินเทอรืเน็ต ก่อให้เกิดระบบ คอมพิวเตอร์ สำหรับการบริหารงานใน สถานศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบ บริหารห้องสมุดและระบบ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาพัฒนาบุคคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

 

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

     แบ่งได้เป็นมี 3 ประเภทดังนี้

- รูปแบบเทคโนโลยีสานสนเทศปัจจุบัน

- พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

            รูปแบบเทคโนดลยีสารสนเทศในปัจจุบัน

   แบ่งได้ 6 รูปแบบดังต่อไปนี้คือ

1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ กล้องดิจิทัล ก้องวีดิทัศน์เครื่องเอกซเรย์

2. เทคโนโลยีสารสนสนเทศทีใช้ในการบันทึกข้อมูล เป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสงหรือจานเลเซอร์ บัตรATM

3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮารืดแวร์ และซอฟต์แวร์

4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ พลอตเตอร์ ฯลฯ

5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องถ่าย ไมโครฟิล์ม

6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอด หรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่างๆ เช่น โทรศัพท์ วิทยุกระจายเสียง โทรเลข เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระบบใกล้และไกล

    ตัวอย่างการใช้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในทางธุรกิจและทางการศึกษา เช่น

- ระบบ ATM 

- การบริการและการทำธุรกรมมบนอินเทอร์เน็ต

- การลงทะเบียนเรียน 

               พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    คือ การแสดงออกทางความคิด และความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่ สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพ ข้อความ หรือ ตัวอักษร ตัวเลข ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
              การใช้อินเทอร์เน็ต
   นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในขณะที่ในระดับอุดมศึกษาส่วนใหย่ใช้เพื่อการเรียนรู้ การติดต่อข่าวสารของสถานศึกษา
             ใช้อินเทอร์เน็ต ทำอะไรบ้าง
   งานวิจัยชี้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้สถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
   นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน และมีการใช้อินเทอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน งานวิจัยนักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อย ได้แก่ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การสืบขค้นข้อมูลสานสรเทศ

      การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการสืบค้น ค้นหา หรือดึงข้อมูลและสารสนเทศเฉพาะเรื่องที่ผู้ใช้ระบบแหล่งรวมสารสนเทศไว้เป็น จำนวนมาก เพื่อประโยน์ในด้านต่าง เช่นการศึกษษ เป็นต้น

         วัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ

1. เพื่อทราบถึงรายละเอียดของข้อมูล

2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษาหรือการทำงาน

3.เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับตนเองและผู้อื่น

4. เพื่อตรวจสอบข้อมูล

5. เพื่อการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

         Search Enging หมายถึงเครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลและข่าว สารให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูลในเว็บต่างๆ

         ความหมายของเครื่องช่วยค้นหา

   คือ เครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์ในการค้น หาข้อมูล และข่าวสารที่อยู่ของเว็บไซต์ (Address) ต่างๆในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

   ปรเภทของ Search Enging

- อินเด็กเซอร์ (Indexers)

   Search Enging แบบอินเด็กเซอร์จะมีโปรแกรมช่วยจัดหาข้อมูในการค้นหา หรือเรียกว่า Robot วิ่งไปมาในอินเทอร์เน็ต เพื่ออ่านข้อมูลจากเว็บเพจ (Web pages) ต่างๆทั่วโลกมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลไว้ โดยจะใช้ตัวอินเด็กเซอร์ Indexers ค้นหาจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ เช่น

- http://www.altavista.com                    - http://www.excite.com

- http://www.hotbot.com                      - http://www.magellan.com

- http://www.webcrawler.com

 

- ไดเร็กเตอร์ (Directories) 

   Searh Engines แบบไดเร้กทอรี่จะใช้การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่ง เปรียบเสมือนกับเป็นแค็ตตาล็อกสินค้า เลือกจากข้อมูลใหญ่ไปหาเล็ก จนพบข้อมูลที่ต้องการโดยจะแสดงจาก URL ตัวอย่างเช่น

- http://www.yahoo.com                 - http://www.lycos.com

- http://www.looksmart.com            - http://www.galaxy.com

- http://www.askjeeves.com            - http://www.siamguru.com

 

- เมตะเสิร์ช (Metasearch) 

  Search Engines แบบเมตะเสิร์ชใช้ได้หลายๆวิธีการมาช่วยในการสืบค้นข้อมูลโดยจะรับคำสั่งค้น หาแล้วส่งไปยังเว็บไซต์ Search Engines หลายแหล่งพร้อมกัน ทำให้เราเข้าถึงเว็บได้อย่างรวดเร็ว เช่น

- http://www.dogpile.com              - http://www.highway61.com

- http://www.profusion.com           - http://www.thaifind.com

- http://www.metacrawler.com

 

     Yahoo

     เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบไดเร็กเทอร์เป็นรายแรกในอินเทอร์ และเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานเป็นรายแรกในอินเทอร์เน็ต เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานสูงสุดในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือการค้นหาในแบบเมนู และการค้นแบบวิธีระบุทำที่ต้องการค้นหา

     Altavista

     เป็น Search Engines ของบริษัท Digital Equipment Corp หรือ DEC มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาก มีโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาที่มีความสามารถสูง จุดเด่น มีเว็บเพจอินเด็กซ์ Indexed Web Pages เป็นจำนวนมากกว่า 150 ล้านเว็ยเพจ

     Excite 

     เป็น Search Engines มีจำนวนไซต์ site ในคลังข้อมูลมากที่สุดตัวหนึ่งและสามารถค้นหาข้อมูลหรือความหมายของคำได้ โดยจะทำการค้นจาก World wide web เนื่องจาก Excite มีข้อมูลในคลังจำนวนมาก ทำให้ผลลัพธ์ในการค้นหา มีจำนวนมากตามไปด้วย

     Hotbot 

     เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมอีกเว็บไซต์ มีจุดเด่นตรที่สามารถกำหนดเงื่อนไขที่สูงขึ้นได้

     Go.com

    เป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอข่าวทันเหตุการณ์ต่างๆจากแหล่งข่าวต่างๆ เป็นจำนวนมากตลอดจนข่าวในด้านบันเทิง (Entertainment New)

     Lgcos

     ฐานข้อมูลของ Lgcos มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีคลังข้อมูลมากกว่า 1,500,000 ไซต์ และมีเทคนิคในการค้นหาข้อมูล โดยมีระบบการค้นหาข้อมูลอย่างรวดเร็ว

     Looksmart 

     เกิดจากความคิดของชาวออสเตเลีย 2 คนที่ไม่ประทับใจในการค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จึงขอความช่วยเหลือจาก Reader's Digest ทั้งสองจึงลงมือสร้างเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่คำนึงถึงความใช้ง่ายและเหมาะสม กับเนื่อหา

     Webcrawler 

     เป็นเว็บไซต์ที่มีคลังข้อมูลระดับปานกลาง มีข้อจำกัดคือ ใช้ค้นหาข้อมูลที่เป็น วลีหรือข้อความ    ทั้งข้อความไม่ได้จะมาสารถค้นหาข้อมูลได้เฉพาะที่

     Dog Pile

     เป็นประเภท เมตะเสิร์ชที่ใช้งานง่าย ค้นหาได้อย่างรวดเร็ว โดยการพิมพ์คำค้นหาลงในช่องค้นหาและกดปุ่ม Fetch โดยผลลัพธ์จะปรากฏบนหน้าจออย่างรวดเร็ว

     Ask jeeves

     เป็นน้องใหม่ในอินเทอร์ โดยเราสามารถถามคำถามที่เราต้องการอยากรู้โดยพิมพ์คำถามลงไปในช่องกรอก ข้อมูล และคลิกปุ่ม Ask แล้วจะปรากฏผลลัพธ์จากเว็บไซต์ต่างๆ

     Profusion

     เป็นการค้นพบแบบ เมตะเสิร์ช ได้รับความนิยมถึง 9 แห่งด้วยกัน โดยเราสามรถเลือกได้ว่าใช้ Search Engines สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

     Siamguru.com

     ใต้สมญานาม "เสิร์ชฯไทยพันธ์ไทย" Real Thai Search Engines เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือ ค้นหาสำหรับคนไทยที่ดีที่สุดในประเทศไทย มีการค้นหาภาพ เพลงต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการค้นหาภาษาไทย ตลอดจนมีระบบการเก็บข้อมูลใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา

     การใช้งาน  Search Engines

   การระบุคำค้นหา หรือใช้คีย์เวิร์ด yahoo.com การใช่้ต้องป้อนข้อมูล หรือข้อความที่ต้องการ Keyword ลงไปในช่องค้นหา

     การค้นเป็นหมวดหมู่ Directories 

   การค้นหาจากหมวดหมู่ จะมีการแบ่งหัวข้อต่างๆออกเป็นหัวข้อหลัก ในแต่ละหัวข้อหลักก็ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยลงไปเรื่อยๆ

 
บุคคลากรหน่วยงานคอมพิวเตอร์

1. หัวหน้างานคอมพิวเตอร์ EDP Manger

2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนรายงาน System Analyst หรือ SA

3. โปรแกรมเมอร์ Programer

4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ Computer Operator

5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล Data Entry Operator

- นักวิเคราะห์รายงาน (นักการศึกษารายงานเดิม ออกแบบรายงานใหม่)

- โปรแกรมเมอร์ (นักรายงานใหมาที่นักคิดวิเคราะห์รายงานออกแบบไว้เพื่อมาสร้างโปรแกรม)

- วิศวกรระบบ (ทำหน้าที่ออกแบบสร้าง ซ่อมแซ่มปรับปรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ)

- พนักงานปฏิบัติการ (ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่หรือภาระกิจประจำวันที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์)อาจแบ่งประเภท ได้ดังนี้

1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือผู้ที่ศึกษารายงานเดิม หรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

3. โปรแกรมเมอร์ (Programer) คือผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

4. ผู้ใช้ User คือผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่ต้อเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อและวิธีการใช้งานเขียนโปรแกรมเพื่อให้ โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 4
                         
ซอฟต์แวร์(software)

ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนของการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร  เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ  เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสม่ได้แต่เราสามารถสร้าง   จัดเก็บ  และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น แผ่นบันทึก  แผ่นซีดี  แฟล็ชไดร์ฟ  ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

หน้าที่ของซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเวื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์  ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์  เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย   ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท

ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ

       ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software)

       ซอฟต์แวร์ปรพยุกต์(Application  Software)

       และซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

1.ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software)

ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ  หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ  ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์  เช่น  รับข้อมูลทางแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ   นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเตรื่องพิมพ์  จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง

System Software หรือโปรแกรมที่รู้จักกันดีก็คือ DOS,Windows,Unix,Linux รวมทั้งโปรแกรมคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic,Fortran,Pascal,Cobol,C เป็นต้น

นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น  Norton's  Utilities  ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยกันเช่น

หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ

1)ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก  เช่น  รับรู้การกดแป้นต่างๆ บนแผงแป้นอักขระ  ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์   ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆเช่น เมาส์  ลำโพงเป็นต้น

2)ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ  เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก  หรือในทำนองกลับกัน  คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก

3)ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  เพื่อให้สามารถให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น   เช่น  การขอดูรายการในสารบบ (directory)  ในแผ่นบันทึก  การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล

ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป   แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ  และ ตัวแปลภาษา



ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ

ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.ระบบปฏิบัติการ (Operating  System: OS)

2.ตัวแปลภาษา

    

      1.ระบบปฏิบัติการ หรือเรียกย่อๆว่าโอเอส (Operating  System: OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์   เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้  ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น  ดอส  วินโดวส์  ยูนิกซ์ ลีนุกซ์  และแมคอินทรอช เป็นต้น

1. ดอส (Disk Operating Syatem : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว  การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร  ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีตปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก

2. วินโดวส์  (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส  โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอัขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้   โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ   การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟริก   ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ   ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย  ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

     3. ยูนิกส์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์   ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (Open Syatem) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน  ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า   ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers)  และสามารถทำงานได้หลายๆงานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า รพบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย  เพื่อใช้งานหไลยๆเครื่องพร้อมกัน

     4. ลีนุกซ์ (linux) เป็นระบบปฏิบัติการที้พัฒนามาจากระบบยูกนิซ์   เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ   ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน   เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก  โดยเฉพาะอย่างยื่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware)  ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

    ระบบลีนุกซ์  สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น อินเทล (PC Intel) ดิจิตอล (Digital Alpha Computer) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนซีพีได้ทั้งหมดก็ตาม   แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น

     5.แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์  แมคอินทอช  ส่วนมากใช้ในงานด้สนกราฟริก  ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร  นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ

     นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมากมาย   เช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์   เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ  เช่น  ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์  นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ   ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา



     ชนิดของระบบปฏิบัติการ  จำแนกตามการใช้งานสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิด ด้วยกันคือ

   1.ประเภทใช้งานเดียว (Single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น  ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์  เช่น  ระบบปฏิบัติการดอสเป็นต้น
   2.ประเภทใช้หลายงาน (Multi-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน  ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกันเช่น  ระบบปฏิบัติการ  Windowa 98 ขึ้นไป และ UNIX เป็นต้น

   3.ประเภทใช้งานหลายคน (Multi-user) ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล  ทำให้ขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน   แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์   จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูงเพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา เช่น  ระบบปฏิบัติการ Windoes NT และ UNIXเป็นต้น

   2.ตัวแปลภาษา

      การพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง

      ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั้งได้ง่าย  เข้าใจได้  เพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้

      ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษาซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ Basic,Pascalและภาษาโลโก ป็นต้น

    นอกจากนี้  ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมา  ได้แก่ Fortran,Cobolและภาษาอาร์พีจี

    2.2ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application  Software)

     ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์   เพื่อใช้ทำงานเฉพ่ะด้สนเช่น   การจัดพิมพ์รายงาน  การนำเสนองาน  การจัดทำบัญชี   การตกแต่งภาพ  หรือการออกแบบเว็บไซต์เป็นต้น

    
    ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์

แบ่งตามลักษณะการผลิต   จำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary  Software)

2.  ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั้วไป (Packaged  Software)  มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ (Customized   Package)และโปรแกรมมาตฐาน (Standard  Package)

     ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์

แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน  จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้

1.กลุ่มการใช้งานทางด้านธุกิจ(Business)

2.กลุ่มการใช้งานด้านกราฟริกและมัลติมีเดีย (Graphic  and  Multimeddia)

3.กลุ่มการใช้งานบนเว็บ(Web  and  communications)

      กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business)

     ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้  ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น  เช่น  การจัดพิมพ์รายงานเอกสาร   นำเสนองานและการบันทึกนัดหมายต่างๆตัวอย่างเช่น

    โปรแกรมประมวลผลคำ อาทิ Microsoft  Word , Sun Staroffice  Wirter

     โปรแกรม ตารางคำนวณอาทิ Microsoft  Excel,Sun  Star Office  Cals

     โปรแกรมนำเสนองาน  อาทิ Microsoft Point,Sun StarOffice  Impress

                       
                                        กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟริกมัลติมีเดีย

    ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟริกและมัลตอมีเดีย   เพื่อให้งานง่ายขึ้น  เช่น  ใช้ตกแต่ง  วาดรูป   ปรับเสียง   ตัดต่อภาพเคลื่อนไหว   และการสร้างและการออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น

    โปรแกรมงานออกแบบ  อาทิ Microsoft   Visio  Professional

    โปรแกรมตกแต่งภาพอาทิ  CorelDRAW,Adobe Photoshop

    โปรแกรมตัดต่อวิดิโอและเสียง   อาทิ Adobe Premiere,Pinnacle  Studio DV

    โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authorware, Toolbook Instructor,Adobe Director

    โปรแกรมสร้างเว็บ  อาทิ  Adobe Flash,Adobe  Dreamweaver


                                           กลุ่มการใช้งานบนเว็ยและการติดต่อสื่อสาร

      เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเพ่มมากขึ้น เช่น  โปรแกรมการตรวจเช็คอีเมล  การท่องเว็บไซต์   การจัดการดูแลเว็บ  และการส่งข้อความติดต่อสื่อสาร   การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย   ตัวอย่างโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่

       โปรแกรมจัดการอีเมล  อาทิ Microsoft  Outlook, Mozzila   Thunderbird

       โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft  Internet Explorer,Mozzila  Firefox

       โปรแกรม ประชุมทางไกล  (Video  Conference)  อาทิ   Microsoft  Netmeeting

       โปรแกรมส่งข้อความด่วน  (Instant Messaging) อาทิ MSN Messesger/Windows  Messenger,ICQ

       โปรแกรมสนทนาบนอินเตอร์เน็ต  อาทิ  PIRCH,MIRCH

                                                    ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์

           การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที   แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก   จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร  เป็นประโยค  ข้อความ  ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า  ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง   ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย    บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั้งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์   และวิทยาศาสตร์   บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล

                                                   ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์

    เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานมนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบการที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้   และทำงานได้อย่างถูกต้อง   จำเป็นต้องมีสื่อกลาง   ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว   เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน   เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์จะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้   และปฏิบัติตามจะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้   เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า  ภาษาคอมพิวเตอร์

    ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย

ภาษาเครื่อง (Machine   Languages)

   เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นระหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์  รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้   คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้   เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง

     การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันทีแต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก   เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก   จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัวอักษร



    ภาษาแอสเซมบลี  (Assembly   Languages)

       เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง   ภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์

        แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มาก   และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์ (Assembler) เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง



   ภาษาระดับสูง (High-Level  Languages)

       เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่  3  เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า  Statements   ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษ   ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น   ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น   เนื่องจากภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามยุษย์   ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องนั้นมีอยู่2 ชนิด ด้วยกันคือ

   คอมไพเลอร์(Compiler)  และอินเทอร์พรีเตอร์(Interpreter)

      คอมไพเลอร์  จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน   แล้วจึงทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น

      อินเทอร์พรีเตอร์   จะทำการแปลทีละคำสั่งแล้วทำให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น  เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป  ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การเปลี่ยนแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง

        -การทำงานของระบบ Network และ Internet

โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  1.เครือข่ายเฉพาะที่ (Local  Area  Network : LAN) 

         เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆกัน เช่น อยู่ภายในอาคาร  หรือหน่วยงานเดียวกัน

  2. เครือข่ายเมือง (Metropolitan  Area  Network : MAN)

          เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น   ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกันเป็นต้น

  3.เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide  Area  Network : WAN)

          เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ   โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว   ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง  โดยมีการครอบคลุมไปทั่วประเทศ   หรือทั่วโลก เช่น อินเตอร์เน็ต  ซึ่งถือว่าเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

 
รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology)

          การจัดระบบการทำงานของเครือข่าย  มีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย   อันเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์และการเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายรวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายด้วย   โดยแบ่งโครงสร้างเครือข่ายหลักได้ 4 แบบ คือ

   - เครือข่ายแบบดาว

   - เครือข่ายแบบวงแหวน

   - เครือข่ายแบบบัส

   - เครือข่ายแบบต้นไม้


1. แบบดาว เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยงโดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อรวมกันกับหน่วยสลับสายกลาง   การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง   การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการตอดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่างๆที่ต้องการติดต่อกัน

2. แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเขื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเองโดยจะมีการเชื่อมโยงของสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน    เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อยๆเป็นวงหากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด  เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น   เครื่องขยายสัญญาณจึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ด้วย  ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป

3. เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยจะมีอุปกรณ?ที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล  ในการส่งข้อมูล   จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ   ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน  วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่   สัญญาณที่แตกต่างกัน  ในการติดตั้งเครือข่ายแบบบัสนี้  คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด   ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียว  ซึ่งจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก   ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช่ไม่มากนัก

4. แบบต้นไม้ (Tree Network) เป็นเครือข่ายที่มีการผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่  การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปได้ทุกสถานี  การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด   เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม  รับส่งข้อมูลเดียวกัน


                           การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

-ระบบเครือข่ายทำให้เกิดการสื่อสาร  และการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรระหว่างเครื่อง

  รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

         ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง(Centrallized  Network)

2. ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer

3. ระบบเครือข่ายแบบ Client/ Server

     

        1. ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง

                เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวนผล   ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆ ใช้การเดินสายเคเบิ้ลเชื่อมต่อกันโดยตรง   เพื่อให้เครื่องเทอร์มินอลสามารถเข้าใช้งาน    โดยส่งคำสั่งต่างๆมาประมวนผลที่เครื่องกลางซึ่งมักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมประสิทธืภาพสูง

        2. ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer

                 แต่ละสถานีงานบนระบบเครือข่าย Peer-to-Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้  เช่น การใช้เครื่องพิทพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย   เครื่องแต่ละสถานีงานมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง  (Stand Alone) คือจะต้องมีทรัพยากรภายในของตัวเองเช่น ดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล   หน่วยความจำเพียงพอ  และมีความสามารถในการประมวนผลข้อมูลได้

        3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/ Server

                 ระบบเครือข่ายแบบ Client/ Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก   และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี   ทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง และมีการบริการจัดการทรัพยากรต่างๆจากส่วนกลาง   ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง   แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ  เครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Client/ Server ราคาไม่แพงมาก ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆ

                  นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวนผล   และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเอง

                  ระบบเครือข่ายแบบ Client/ Server เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง  สนับสนุนการทำงานแบบ Multiprocessor  สามารถเพิ่มขยายของจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ   นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนเครื่อง Server สำหรับให้บริการต่างๆเพื่อช่วยกระจายภาระของระบบได้   ส่วนข้อเสียของระบบนี้ก็คือ  มีความยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่าระบบ Peer-to-Peer  รวมทั้งต้องการบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการระบบโดยเฉพาะอีกด้วย